ประเพณีของภาคเหนือ
ประเพณีภาคเหนือ
ประเพณีของภาคเหนือ เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผี ส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน จึงขอยกตัวอย่างประเพณีภาคเหนือบางส่วนมานำเสนอ ดังนี้
1. ประเพณียี่เป็ง ประเพณีลอยกระทง ของชาวล้านนาที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน โดยในปัจจุบันประเพณียี่เป็งยังคงเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดและจัดขึ้นใน ช่วงวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี
ประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณียี่เป็ง
ในพงศาวดารโยนกและจามเทวี ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณียี่เป็งเอาไว้ว่า ครั้งหนึ่งเมื่อบ้านเมืองเกิดภัยร้ายแรงด้วยโรคอหิวาตกโรคขึ้นที่แคว้นหริ ภุญไชย ชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวเมืองที่เหลือต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดีนานถึง 6 ปี จึงกลับคืนสู่บ้านเมืองเดิม ครั้นถึงเวลาเวียนมาบรรจบครบวันที่ต้องจากบ้านเมืองไป จึงได้ทำพิธีรำลึกถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำกระถางใส่เครื่อง สักการบูชา ธูปเทียนลอย แล้วนำไปลอยตามน้ำ เรียกว่า การลอยโขมดหรือลอยไฟ นั่นจึงเป็นที่มาของประเพณียี่เป็งที่มีมาจนถึงทุกวันนี้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเพณียี่เป็ง
ยี่เป็ง มาจากคำว่า ยี่ ซึ่งแปลว่า สอง ส่วนคำว่า เป็ง มาจากคำว่า เพ็ญ ประเพณียี่เป็งจึงเป็นประเพณีที่จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง
กิจกรรมที่นิยมทำในงานประเพณียี่เป็ง ประเพณียี่เป็งหรืองานบุญยี่เป็ง มีขึ้น 3 วัน โดยในแต่ละวันจะมีกิจกรรมที่นิยมทำกันมาช้านานได้แก่
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเพณียี่เป็ง
ยี่เป็ง มาจากคำว่า ยี่ ซึ่งแปลว่า สอง ส่วนคำว่า เป็ง มาจากคำว่า เพ็ญ ประเพณียี่เป็งจึงเป็นประเพณีที่จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง
กิจกรรมที่นิยมทำในงานประเพณียี่เป็ง ประเพณียี่เป็งหรืองานบุญยี่เป็ง มีขึ้น 3 วัน โดยในแต่ละวันจะมีกิจกรรมที่นิยมทำกันมาช้านานได้แก่
วันขึ้นสิบสามค่ำหรือวันดา เป็นวันที่พี่น้องชาวล้านนากลับคืนสู่บ้านและเตรียมซื้อของเพื่อไปทำบุญที่วัด
วันขึ้นสิบสี่ค่ำ พี่น้องชาวล้านนาจะไปทำบุญที่วัด พร้อมทำกระทงใบใหญ่ไว้ที่วัดเพื่อนำอาหารและของกินมากมายใส่กระทงและให้ทานแก่คนยากจน
วันขึ้นสิบห้าค่ำ พี่น้องชาวล้านนาจะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ พร้อมทั้งจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เนื่องจากงานบุญยี่เป็งเป็นงานบุญใหญ่ ในช่วงงานบุญพี่น้องชาวล้านนาจึงนิยมประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทำประตูป่า ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ส่วนในช่วงกลางคืนจะจัดงานรื่นเริง ประดับประดาด้วยแสงสีเสียง ขบวนแห่และการปล่อยโคมที่สวยงามตระการตามาก โดยเฉพาะการปล่อยโคมนั้นถือเป็นกิจกรรมสำคัญของงานบุญนี้ เพราะพี่น้องชาวล้านนาเชื่อว่า เปลวไฟในโคมที่ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้านั้นเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ ปัญญาและความปราดเปรื่อง และแสงสว่างที่ได้รับจากโคมจะช่วยให้ชีวิตพบเจอกับแสงสว่าง สามารถดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง นอกจากนี้แล้วในช่วงงานบุญยี่เป็งพี่น้องชาวล้านนายังนิยมรักษาศีล ปฏิบัติธรรมและฟังเทศน์มหาชาติเพื่อสร้างบุญบารมีเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับ ตนเองด้วย
2. ประเพณีเข้าพรรษา ประวัติ วันเข้าพรรษานั้นเริ่มต้นจากเมื่อสมัยพุทธกาลโดยพระพุทธเจ้าเป็นผู้ กำหนดขึ้นเนื่องจากมีผู้มาเรียกเรียนว่า พระภิกษุสงฆ์เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยไม่หยุดหย่อนเลยแม้กระทั่งหน้า ฝนที่ฝนตกหนัก และน้ำหลาก การเดินทางลำบาก กระทั้งบางครั้งพระสงฆ์เหล่านั้นยังเดินไปเหยียบย่ำพืชผัก หรือผลผลิตที่กำลังเติบโต และกำลังผลิดอกออกผล ได้รับความเสียหายดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้กำหนดให้ฤดูฝนเป็นฤดูสำหรับการหยุดพักการเดินทางไป เผยแผ่ศาสนาของพระสงฆ์โดยกำหนดให้ตั้งแต่วันแรม 1ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา จนถึงวันขึ้น 15ค่ำเดือน 11และ เป็นวันออกพรรษา เพื่อพระสงฆ์จะได้หยุดพักจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติและศึกษาพระธรรมเพิ่มเติม และสั่งสอนลูกศิษย์หรือพระใหม่ที่เพิ่งบวชได้ร่ำเรียนธรรมะอย่างเต็มที่ โดยให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ไม่ไปจำวัดที่อื่นตลอดระยะเวลา 3เดือนที่เข้าพรรษานั้นแม้แต่คืนเดียว หากพระสงฆ์ไม่สามารถกลับมาทันก่อนรุ่งสางถือว่าภิกษุนั้นขาดพรรษา แต่มีข้อยกเว้นหากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถกลับมาได้ทัน แต่ต้องกลับมาภายใน 7วัน นั้นคือ หากมีเหตุจำเป็นเหล่านี้พระสงฆ์สามารถกระทำ สัตตาหกรณียะ คือ ไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาหรืออาบัติแต่อย่างใด ซึ่งนอกจากจะห้ามดังกล่าวแล้วพระสงฆ์จะได้มีอากาศได้อบรม หรือเทศนาให้กับพุทธศาสนิกชนที่เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรม และถือศีลปฏิบัติธรรมตลอดระยะเวลา 3เดือนที่เข้าพรรษา ซึ่งนั้นคือที่มาและประวัติวันเข้าพรรษาที่เราชาวพุทธต้องรู้และปฏิบัติ
และหากมีเหตุจำเป็นสุดวิสัยจริงๆที่ทำให้ไม่สามารถกลับมาทันได้ ก็ถือว่าไม่อาบัติหรือขาดพรรษาแต่อย่างใด ซึงได้แก่ถูกโจรปล้น ถูสัตว์ทำร้าย วิหารถูกไฟไหม้หรือน้ำท่วมจำเป็นต้องไปอยู่ที่อื่นก่อนชาวบ้านถูกโจรปล้น จำเป็นต้องย้ายไปพร้อมกับชาวบ้านด้วยขาดแคลนยารักษาโรค หรืออาหาร จำเป็นต้องออกไปบิณฑบาต มีผู้เอาทรัพย์มาล่อ อนุญาตให้หนีไปเสียให้พ้นได้
3. ประเพณีเวียนเทียนกลางนํ้า “ใจกลางกว๊านพะเยา ซากโบราณสถาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดติโลกอาราม ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งอาณาจักรล้านนา ได้ปรากฏเค้าโครงแห่งการบูรณะ และก่อร่างรูปแบบประเพณีปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน ในประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ ทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา”วัดติโลกอาราม เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา เป็นวัดที่พระเจ้าติโลกราชแห่งราชอาณาจักรล้านนา โปรดให้พระยายุทธิษถิระ เจ้าเมืองพะเยา สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๐๑๙ – ๒๐๒๙ ในบริเวณที่เรียกว่า บวกสี่แจ้ง วัดแห่งนี้เป็นชื่อวัดที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ซึ่งถูกค้นพบได้ในวัดร้างกลางกว๊านพะเยา หรือในบริเวณหนองเต่า จากข้อความที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ทำให้รู้ว่าวัดนี้มีอายุเก่าแก่มากกว่า ๕๐๐ ปี สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นวัดที่มีผู้ปกครองเมืองพะเยาได้สร้างถวายเพื่อเป็นการเทิดพระ เกียรติแก่พระเจ้าติโลกราช ในฐานะทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรล้านนาวัดติโลกอารามจมอยู่ในกว๊านพะเยาเนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ กรมประมงสร้างประตูกั้นน้ำในกว๊านพะเยาเพื่อกักเก็บน้ำ จึงทำให้บริเวณที่เป็นกว๊านพะเยาที่แต่เดิมเป็นชุมชนโบราณ และมีวัดอยู่เป็นจำนวนมากต้องจมน้ำ ในอดีตพื้นที่กว๊านพะเยาเป็นพื้นที่รองรับน้ำจากเทือกเขา ไหลลงมาเป็นลำห้วย ลำธาร แม่น้ำ และกลายเป็นหนองน้ำเล็ก ใหญ่ ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน ของทุกปี ปริมาณน้ำจะลดลง ทำให้ชาวบ้านสามารถใช้พื้นที่เกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์และเป็นเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างตัวเมืองกับหมู่บ้านรอบๆ กว๊านพะเยา และเมื่อหลายร้อยปีมานั้นพื้นที่ในบริเวณของกว๊านพะเยาจะเป็นชุมชนหมู่บ้าน มีวัดวาอารามอยู่หลายวัด และวัดติโลกอารามเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่จมอยู่ในกว๊านพะเยาประเพณีเวียนเทียนที่วัดติโลกอาราม มีความแตกต่างจากการเวียนเทียนในวัดอื่นๆ คือ วัดติโลกอารามจะเวียนเทียนโดยการนั่งเรือเวียนเทียนรอบวัดซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำ โดยในแต่ละปีจะมีการเวียนเทียน ๓ ครั้ง คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา
- วันเวลาจัดงาน : วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา
- สถานที่จัดงาน : วัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา
4. ประเพณีอัฐมีบูชา “หนึ่งเดียวในประเพณีประเทศไทย น้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมถ่ายทอดพุทธประวัติจากความร่วมมือของชาวทุ่งยั้งในงาน ประเพณีอัฐมีบูชา พิธีกรรมในการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวพุทธประวัติ พระธรรมคำสอน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ยึดถือปฏิบัติสืบไป”
เรื่องราวที่เล่าขานประเพณีไทย กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา พุทธประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถูกถ่ายทอดผ่านพิธีกรรมที่ชาวทุ่งยั้งได้ร่วมกันปฏิบัติ เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้ ปริศนาธรรม หลักคำสอน โดยมีจุดเด่นอยู่ที่พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าองค์พระเมรุตกแต่งประดับลวดลายวิจิตร จากช่างฝีมือท้องถิ่น ภายในประดิษฐานสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอิริยาบถไสยาสน์ เข้าสู่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) มีการตั้งพระบรมศพฯ ณ ศาลาการเปรียญวัดพระบรมธาตุเริ่มต้นการบำเพ็ญกุศลตามความเชื่อทางศาสนา ตักบาตร สวดอภิธรรม และเทศนาธรรม ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ สะท้อนภาพความร่วมมือและความสามัคคีของชาวทุ่งยั้งอย่างแท้จริงและเมื่อถึง วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ บรรยากาศยามค่ำคืนประมาณ ๒ ทุ่มเศษเงียบสงัด ทั้งที่ผู้คนต่างมาร่วมกันมากมาย เข้าสู่ช่วงพิธีกรรม อัฐมีบูชา พระภิกษุ สามเณร พร้อมด้วยชาวทุ่งยั้ง ต่างเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรม สวมบทบาทสมมุติเล่าเรื่องราวพุทธประวัติเมื่อครั้งสมัยพุทธกาล ตั้งแต่องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน แล้วนำมาสู่การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า ประกอบแสง สี เสียง อย่างสมจริงหลังจากนั้นผู้เข้าร่วมพิธีร่วมกันถวายดอกไม้จันทน์ ดอกไม้ธูปเทียน เป็นพุทธบูชา นับเป็นพิธีกรรมที่ยึดถือปฏิบัติมาช้านาน ซึ่งในปัจจุบันนั้นค่อนข้างเลือนราง ชาวทุ่งยั้งยังคงรักษาเอกลักษณ์เหล่านี้ไว้ เพื่อให้คงอยู่ แม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่กลับมีคุณค่า และความสำคัญไม่น้อยกว่างานเทศกาลประเพณีใดๆ
วันเวลาการจัดงาน : ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) ถึง แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ รวม ๑๐ วัน
สถานที่จัดงาน : วัดพระธาตุทุ่งยั้ง
5. ประเพณีแข่งเรือยาว “ความสง่างาม และน่าเกรงขามของหัวเรือพญานาค คือเอกลักษณ์ของเรือยาวจังหวัดน่าน ทีมฝีพายจากทั่วทุกสารทิศต่างช่วงชิงความเป็นหนึ่ง เจ้าเรือพายแห่งสายน้ำน่าน เสียงเชียร์ดังสนั่นท้องน้ำ เสียงนกหวีดบอกสัญญาณ เสียงทุ้มต่ำของกลองเร่งเร้าจังหวะ สร้างความเร้าใจได้ตลอดการแข่งขัน”สายน้ำน่าน บริเวณสะพานพัฒนาภาคเหนือช่วงฤดูน้ำหลาก เรือพายหัวพญานาคเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครแห่งเมืองน่านหลายสิบลำจากทั่วทุก คุ้มวัดต่างมาพร้อมกันเพื่อชิงชัยเจ้าแห่งสายน้ำน่าน ในงานบุญใหญ่ทอดถวายกฐินพระราชทานที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ที่มาของประเพณีเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจมื่อเจ้าผู้ครองนครน่านองค์หนึ่ง ระดมสล่านับร้อยลำใหญ่ ๒ ลำ ใช้เวลาสร้างกว่า ๒ ปี เสร็จแล้วมีพิธีบวงสรวงเทพยดาประจำไม้ตะเคียน และบายศรีสู่ขวัญอันเชิญเรือทั้งสองลำลงสู่แม่น้ำน่าน โดยตั้งชื่อเรือลำแรกว่า “เรือท้ายหล้า” และเรืออีกลำชื่อว่า “เรือท้ายทอง” ต่อมาจึงประกาศให้ชาวบ้านใช้เรือทั้งสองลำเป็นแม่แบบในการสร้างเรือ เพื่อนำมาแข่งขัน และกำหนดให้มีการจัดการแข่งขันขึ้นทุกครั้งที่มีงาน “ตานก๋วยสลาก” (ถวายทานสลากภัต) ของทุกปี เริ่มต้นความงดงามด้วยริ้วขบวนเรือที่ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้เป็นลวดลายที่ งดงาม ก่อขึ้นเป็นรูปร่างของสัญลักษณ์เมืองน่าน วัดภูมินทร์ก็ดี พระธาตุแช่แห้งก็ดี ค่อยๆ เคลื่อนไหลไปตามท้องน้ำผ่านสายตาผู้ชมนับหมื่น ตามด้วยขบวนเรือแข่งกระจายทั่วท้องน้ำ เมื่อทุกทีมพร้อม การจับสายประกบคู่เป็นที่เรียบร้อย เรือแข่งทั้งร่องน้ำซ้าย ร่องน้ำขวา เข้าประจำที่ สัญญาณปล่อยตัวมาพร้อมเสียงเชียร์ เสียงดนตรี และเสียงพากย์สุดเร้าใจ ริมฝั่งแบ่งโซนกองเชียร์ของแต่ละทีมแต่งกายด้วยสีสันสดใส ต่างร้องรำไปตามจังหวะ สอดประสานกับการจ้วงพายของฝีพาย จนเมื่อถึงเส้นชัย ใครจะแพ้ใครจะชนะไม่สำคัญเท่าภาพของความสนุกสนาน ความสามัคคี การแข่งขันไม่ได้เน้นหนักในด้านการแพ้หรือชนะ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ความสนุกสนาน ความสามัคคี รอยยิ้มของผู้คน รวมทั้งน้ำใจนักกีฬาที่ต่างมอบให้กันโดยปราศจากผลประโยชน์ใดๆ และเรื่องราวของการแข่งขันเรือยาวจังหวัดน่านนั้น มากไปด้วยมนต์ขลังที่ยังคงเล่าผ่านเรือขุนน่าน ต้นแบบเรือดั้งเดิมที่ขุดจากไม้ตะเคียนทองทั้งต้น ยาว ๑๒ วา ๓ ศอก ทั้งกาบโกลนเรือ และหัว หางนาคราช ตกแต่งลวดลายตลอดรำเรือ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยโลดแล่นประกาศศักดาคว้าชัยชนะจนได้รับถ้วยพระราชทานจาก ในหลวงถึง ๓ ปีซ้อน ได้กลายเป็นตำนานเล่าขานถึงความยิ่งใหญ่ และถ่ายทอดเอกลักษณ์ของเรือยาวแห่งเมืองน่านให้เป็นที่รู้จักสืบไป
6. ประเพณีลอยไหลประทีบพันดวง“ลอยกระทงสาย ประเพณีไทยที่เกิดจากความร่วมมือ และความสามัคคีของคนในชุมชน ตระเตรียมแพผ้าป่า และกระทงสายพร้อมสรรพ จับสลากว่าใครจะลอยก่อนหลัง เมื่อทุกขั้นตอนพร้อมเรียบร้อย คนหนึ่งนำขี้ไต้ใส่กะลา อีกคนจุดไฟ อีกหนึ่งค่อยๆ กะจังหวะปล่อยเป็นสายไหลเรียงไปตามกระแสน้ำ”การหลอมรวมหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน ศิลปวัฒนธรรม ทั้ง ๓ สิ่งได้ทำให้เกิดงานประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างด้วยรูปแบบ อันมาพร้อมรายละเอียดแห่งความงดงาม จุดเริ่มต้นที่ชาวบ้านนำวัตถุดิบในท้องถิ่น คือ กะลามะพร้าวที่ผ่านการขูดเนื้อไปทำเมี่ยง ของว่างที่คนจังหวัดตากมักจะรับประทานหลังอาหาร เหลือเจ้ากะลาที่วางทิ้งไว้ก็ดูไร้ประโยชน์ ลองนำมาทำเป็นกระทง ตรงกลางใส่ด้ายดิบที่ฟั่นเป็นรูปตีนกา แล้วนำเทียนขี้ผึ้งที่พระสงฆ์ใช้ช่วงจำพรรษา มาหล่อใส่ในกะลา เพียงเท่านี้ก็พร้อมนำไปลอย โดยชาวบ้านนั้นเชื่อว่าเทียนขี้ผึ้งเหล่านี้ นับเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเสริมสร้างสิริมงคลแก่ผู้นำไปลอยได้นั่นเองด้วยสภาพท้องน้ำที่มีสันทรายเป็นระยะ ทำให้กระทงที่นำมาลอยไหลไปในทิศทางเดียวกันและกลายเป็นแนวคิดในการนำกระทงมา ลอยเป็นสาย จนกระทั่งเริ่มมีการแข่งขันประกวดประชันอย่างจริงจังขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อถึงกำหนดเริ่มงานทุกชุมชนได้เตรียมตัวมาพร้อมเพื่อการแข่งขันขบวนแห่ ที่สวยงาม เสียงดนตรีสุดคึกคัก ชาวบ้านต่างร่ายรำมาจนกระทั่งถึงริมฝั่งแม่น้ำปิง เริ่มต้นขอขมาต่อพระแม่คงคา อธิษฐานบูชาพระพุทธเจ้า พร้อมปล่อยทุกข์โศกไปกับแพผ้าป่าน้ำ
7.ประเพณีนบพระเล่นเพลง นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่น โลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ ชวนหลงใหลครั้งสมัยพญาลิไท พระองค์ได้ทรงอันเชิญพระบรมสาริกธาตุจากลังกามาบรรจุไว้ที่พระเจดีย์ ณ วัดพระบรมธาตุ ซึ่งเจ้าผู้ครองนครต้องเดินทางไปนมัสการพระธาตุเป็นประจำทุกปี กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2526 จังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานประเพณีนบพระเล่นเพลงขึ้น เพื่อถ่ายทอดภาพความงดงามของวัฒนธรรมประเพณีที่สูญหาย นำกลับมาปฏิบัติและร่วมสร้างความภูมิใจของท้องถิ่นต่อไปกระบวนพยุหยาตราสถลมารคของพระมหากษัตริย์ถูกจำลองขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เคลื่อนตัวมุ่งหน้าสู้การนบพระ และประกอบพิธีเวียนเทียนที่พระบรมธาตุเจดีย์ ท่ามกลางเสียงอึกทึกคึกโครมของการละเล่น การเล่นเพลง ด้วยภาพบรรยากาศของการจำลองหมู่บ้านวัฒนธรรม ถ่ายทอดรูปแบบการดำเนินชีวิตดั้งเดิม วิถีชีวิตชนเผ่า หัตถศิลป์ การจับจ่ายสินค้า อาหาร ขนม ภายในบริเวณตลาดย้อนยุคโบราณจะแลกเบี้ยแทนเงินสด และกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างความสนุกสนาน และช่วยถ่ายทอดภาพงดงามของอดีตได้อย่างน่าหลงใหล
8. ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยจัดขึ้นทุกปี เพราะถือว่าพระธาตุหริภุญชัยเป็นพระธาตุเจดีย์ที่สำคัญหนึ่งในแปดพระธาตุเจดีย์ของประเทศไทย น้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนั้นเป็นน้ำสรงพระราชทาน น้ำทิพย์จากดอยขะม้อ และน้ำสรงของประชาชน
วัตถุประสงค์ของประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย มีดังนี้
๑. เพื่อเป็นการสักการะพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันเก่าแก่ และนับเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดลำพูนและชาวพุทธทั่วไป
๒. เพื่อสักการะพระบรมอัฐิธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการบูชาเสาหลักเมือง เพราะชาวลำพูนถือว่า เจดีย์พระธาตุหริภุญชัยเป็นเสาหลักเมือง เมื่อสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยจึงได้ทำบุญเสาหลักเมืองลำพูนด้วย
พิธีกรรม ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ จะมีพิธีฝังเสาสำหรับผูกเชือกดึงหม้อน้ำสรง ชาวบ้านเรียกว่า เสาก๊างน้ำ ในวันนี้ฝนมักจะตก ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่า หลังจากฝังเสาก๊างน้ำแล้ว เทวดาจะต้องสรงน้ำพระธาตุก่อนใคร เมื่อเสร็จงานเรียบร้อยแล้ว เสาก๊างน้ำจะถอดเก็บรักษาไว้
ตอนบ่ายวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ราว ๑๓.๐๐ น. ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยข้าราชการ นักเรียน นักศึกษาประชาชน ร่วมขบวนแห่นำน้ำสรงพระราชทาน พร้อมเครื่องสักการะบูชาและน้ำทิพย์ดอยขะม้อ ไปยังวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แล้วทำพิธีถวายสักการะ โดยคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ มีเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยเป็นประธานนำสวดถวายอดิเรก หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน จะทำพิธีสรงน้ำพระธาตุโดยสรงน้ำพระราชทานก่อน ต่อจากนั้นประชาชนจึงเข้าสรงน้ำ เมื่อน้ำสรงเมื่อเต็มหม้อแล้ว ประชาชนจะช่วยกันดึงเชือกให้หม้อน้ำสรงเลื่อนขึ้นไปยังองค์พระธาตุ ซึ่งบนองค์พระธาตุ มีชายแต่งตัวชุดขาวคล้ายพราหมณ์ประมาณ ๕-๖ คน คอยรับน้ำสรง เพื่อนำไปสรงรอบๆองค์พระธาตุ ประชาชนจะสรงน้ำกันอย่างไม่ขาดสายจนถึงเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. เป็นอันเสร็จพิธี
สาระ ประเพณีนี้แสดงถึงความยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสรณะของประชาชน ด้วยการแสดงคารวะต่อพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในครอบครัวและชุมชน มาร่วมสักการะบูชาองค์พระธาตุร่วมกัน พร้อมกับแสดงความยินดีปรีดา ด้วยการแสดงตีกลองหลวง ฟ้อนพื้นเมือง แห่ครัวทานเพื่อนมัสการและสักการะพระบรมธาตุ
9. ประเพณีไทย พิธีสืบชะตาแม่นํ้า ในยามที่เห็น ว่าแม่น้ำกำลังเปลี่ยนแปลงไป เช่น น้ำแห้ง น้ำแล้ง หรือแม้แต่ปลาลดลง ชาวบ้านก็จะจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ ชาวบ้านเชื่อว่าการสืบชะตาหมายถึง การต่ออายุให้ยืนยาวออกไป
ในกรณีของทางภาคเหนือนั้น การต่อชะตามีหลายอย่าง และนิยมทำในหลายกรณี ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำ ชาวบ้านก็นิยมจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำ เพื่อต่ออายุ และความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำรวมทั้งผู้คนในชุมชนไปด้วย การสืบชะตาให้กับแม่น้ำจึงเป็นการแสดงความศรัทธา ความเคารพ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการร่วมกันแสดงออกถึงความห่วงใยต่อแม่น้ำ
พิธีสืบชะตาแม่น้ำประยุกต์มาจากพิธีสืบชะตาคนและสืบชะตาหมู่บ้าน มีความสำคัญดังนี้
๑. ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชน
๒. ทำให้เกิดความเลื่อมใส เคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องรักษาแม่น้ำ
๓. เกิดความรักหวงแหนและสำนึกในการดูแลรักษาแม่น้ำ ตลอดจนต้นน้ำลำธาร
พิธีกรรม
๑. ก่อนทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกัน ขุดลอกลำคลองและแหล่งน้ำ โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือพื้นบ้าน
๒. ในวันกระทำพิธีจะมีการบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาแม่น้ำ
๓. เครื่องสืบชะตาประกอบด้วย กระโจมไม้สามขา ท่อนแสก เรียกว่าสะพานเงิน สะพานทอง อีกท่อนหนึ่ง จะผูกติดด้วยไม้ค้ำท่อนเล็ก ๆ จำนวนพอประมาณแต่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เครื่องประกอบอื่น ๆ ได้แก่กระบอกน้ำ หน่อกล้วย อ้อย ลูกมะพร้าว หม้อเงิน หม้อทอง เทียนถุง เมี้ยง บุหรี่ หมากพลู ข้าวตอกดอกไม้รวมกันในด้ง บทสวดที่ใช้ในการสืบชะตาแม่น้ำ คือบทสืบชะตาหลวง (อินทชาตา, ชินบัญชร อัฏฐอุณหัสสและธรรมสาลาวิจารสูตร)
๑. ก่อนทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกัน ขุดลอกลำคลองและแหล่งน้ำ โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือพื้นบ้าน
๒. ในวันกระทำพิธีจะมีการบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาแม่น้ำ
๓. เครื่องสืบชะตาประกอบด้วย กระโจมไม้สามขา ท่อนแสก เรียกว่าสะพานเงิน สะพานทอง อีกท่อนหนึ่ง จะผูกติดด้วยไม้ค้ำท่อนเล็ก ๆ จำนวนพอประมาณแต่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เครื่องประกอบอื่น ๆ ได้แก่กระบอกน้ำ หน่อกล้วย อ้อย ลูกมะพร้าว หม้อเงิน หม้อทอง เทียนถุง เมี้ยง บุหรี่ หมากพลู ข้าวตอกดอกไม้รวมกันในด้ง บทสวดที่ใช้ในการสืบชะตาแม่น้ำ คือบทสืบชะตาหลวง (อินทชาตา, ชินบัญชร อัฏฐอุณหัสสและธรรมสาลาวิจารสูตร)
อย่างไรก็ดีการสืบชะตาถ้าพูดง่ายๆ ก็คือการต่ออายุให้มีอายุยืนยาวขึ้นนั่นเอง เราคงเคยได้ยินหรือคุ้นเคยกับคำพูด สืบชะตาเมือง จากโหร หรือนักโหราศาสตร์ในช่วงบ้านเมืองเกิดวิกฤต โดยพิธีสืบชะตาแม่น้ำนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการต่อชีวิตให้กับแม่น้ำ และเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำ สายน้ำที่มีความสำคัญต่อสรรพสิ่งทั้งมวลรวมถึงผู้คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำและ เป็นการกระตุ้นเตือนให้คนที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำมีจิตสำนึกช่วยกันรักษา สายน้ำแห่งนี้ให้ยืนยาวอย่างยั่งยืน
10. ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีสารทไทยหรือประเพณีทำบุญเดือนสิบทางภาคใต้โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีงานหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช เนื่องจากเป็นเทศกาลที่ชาวนครศรีธรรมราช จะเดินเข้าวัดทำบุญเพื่ออุทิศผลบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ในวันแรม ๑๓ – ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ และที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวนครฯ ก็คือ ในการทำบุญจะต้องมีขนมสำคัญ ๕ อย่างรวมอยู่ด้วย ซึ่งขนมสำคัญ ๕ อย่างที่ว่านั้นยังแฝงนัยยะสำคัญอะไรบ้างอย่างไว้ด้วย
– ขนมลา เชื่อกันว่าเป็นตัวแทนของเสื้อผ้าที่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วใช้นุ่งห่ม
– ขนมกงหรือขนมไข่ปลา เปรียบได้กับเครื่องประดับที่บรรพบุรุษนำไปประดับตกแต่งร่างกาย
– ขนมพอง ชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าเสมือนแพพาหนะให้บรรพบุรุษใช้ข้ามวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด
– ขนมบ้า เปรียบเทียบได้กับเมล็ดสะบ้า ที่บรรพบุรุษเอาไว้เล่นสะบ้าในเทศกาลตรุษสงกรานต์
– ขนมดีซำ หมายถึงเงินทองที่บรรพบุรุษสามารถนำไปใช้ในโลกหน้าได้
เดิมทีประเพณีสารทเดือนสิบนี้เป็นของพราหมณ์มาก่อน เมื่ออิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาในหมู่คนไทยทางภาคใต้ที่นับถือศาสนาพุทธ ด้วยเห็นว่าความเชื่อนี้ของพรหมณ์เป็นสิ่งที่แสดงถึงความกตัญญูที่ลูกหลานสมควรมีให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และยังเป็นโอกาสที่ญาติพี่น้องที่แยกย้ายกันไปสร้างครอบครัวในที่ห่างไกลจะได้กลับมาพบหน้ากัน กระชับสายสัมพันธ์ในครอบครัวให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ชาวนครศรีธรรมราชยังมีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบเป็นวันที่ประตูนรกเปิดออก เปรตที่ต้องถูกจองจำให้ชดใช้เวรกรรมในนรก จะได้รับอิสรภาพเป็นการชั่วคราวให้ขึ้นมายังโลกมนุษย์เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลาน ด้วยเหตุนี้ ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะพากันนำอาหารไปทำบุญอุทิศผลบุญกุศลจากการทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับของตนเอง ชาวนครศรีธรรมราชจึงมีประเพณีที่ชื่อว่า ชิงเปรต เกิดขึ้นนั่นเอง ประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช จะเริ่มต้นขึ้นในวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ วันนี้จะเรียกกันว่าเป็น วันจ่าย มีการจับจ่ายซื้อขายอาหารแห้ง พืชผัก ข้าวของเครื่องใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นตัวแทนของงานสารทเดือนสิบ จัดเตรียมไว้สำหรับพิธีการวันรุ่งขึ้น โดยจะจัดสิ่งของ อาหารคาวหวานและขนมสำคัญ ๕ อย่างใส่ภาชนะที่เตรียมไว้โดยวางเรียงเป็นชั้นๆ ขึ้นมา ชาวนครฯ จะเรียกกันว่าการจัดหมุรับ โดยจะเรียงข้าวสารอาหารแห้งไว้ชั้นล่างสุด ต่อจากนั้นก็จะเป็นชั้นของพืชผักที่เก็บไว้ได้นานๆ ถัดขึ้นมาจะเป็นชั้นของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน ส่วนชั้นบนสุดจะจัดเรียงขนมสำคัญ ๕ อย่างวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบ ชาวนครจะนำหมุรับที่จัดไว้ ไปทำบุญที่วัดพร้อมกับถวายภัตตาหารไปด้วย และวันสุดท้ายของประเพณีสารทเดือนสิบ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ จะเป็นวันฉลอง ที่วัดจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ และบังสุกุล เพื่อส่งบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วกลับไปยังนรก ตามประเพณีปฏิบัติแล้ว บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วจะได้รับผลบุญนี้ก็ต่อเมื่อมีลูกหลานจัดฉลองหมุรับ และการบังสุกุลให้เท่านั้นในวันเดียวกันนี้เอง หลังจากฉลองหมุรับและถวายภัตตาหารพระภิกษุแล้ว ชาวนครฯ จะทำทานต่อด้วยการนำขนมบางส่วนไปวางไว้ตามโคนไม้ใหญ่ หรือกำแพงวัดบ้าง หรือวางไว้บนศาลาหรือทำเป็นศาลาสูงมีเสาเพียงต้นเดียว ในศาลาจะใส่ขนม ผลไม้ และเงิน เมื่อถึงเวลา ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะวิ่งกรูกันเข้าไปที่ศาลาไม้นี้หรือแย่งกันปีนเสาที่ชโลมน้ำมันเอาไว้ การปีนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่กลายเป็นภาพความสนุกสนาน ความตื่นเต้นของผู้ยืนลุ้นเอาใจช่วยอยู่ด้านล่างจะเห็นได้ว่าประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราชนั้น ไม่เพียงสอนให้คนรู้จักการเข้าวัดเข้าวาเท่านั้น ยังสอนให้คนเป็นคนกตัญญูต่อบรรพบุรุษทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและที่ยังมีลมหายใจอยู่ สอนให้รู้จักการบริจาคทาน เปิดโอกาสให้สถาบันครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมได้สานความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้เข้มแข็งขึ้น
11. ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีตานก๋วยสลากหรือสลากภัตนี้เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาแสดงความระลึกถึงบรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ก๋วยสลากก๋วยสลาก สานจากไม้ไผ่เป็นรูปทรงกระบอก (ชะลอม) ข้างในกรุด้านข้างด้วยใบตอง สำหรับบรรจุข้าวสาร อาหารแห้ง ผลหมากรากไม้ ของใช้จำเป็น ดอกไม้ธูปเทียน โดยชาวบ้านจะนำก๋วยสลากของแต่ละคนไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีทางศาสนา จากนั้นก็จะมีการสุ่มแจกสลากให้กับพระแต่ละรูปโดยที่ไม่มีใครทราบว่าในตานก๋วยสลากนั้นมีอะไรอยู่ข้างในบ้าง พระรูปใดจับได้ตานก๋วยสลากของใครก็จะเรียกชื่อเจ้าของตานก๋วยสลากนั้นออกมารับศีลรับพร และกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ส่วนสิ่งของในตานก๋วยสลาก หากมีเหลือเฟือมากพระภิกษุก็จะนำไปแจกจ่ายให้กับผู้ยากไร้อีกต่อหนึ่ง คำว่า ตานก๋วยสลาก เป็นภาษาของชาวล้านนา หากเป็นภาษาภาคกลางจะตรงกับคำว่า สลากภัต ประเพณีตานก๋วยสลากทางภาคเหนือนิยมจัดกันในช่วงเดือน ๑๒ เหนือถึงเดือนยี่เหนือ หรือตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมากแล้วชาวล้านนาจะจัดงานตานก๋วยสลากในช่วงที่ทำนาเสร็จแล้ว เป็นช่วงที่ได้หยุดพักผ่อนกัน พืชพันธ์ผลไม้ต่างๆ ก็ออกลูกออกผล พระสงฆ์เองก็ยังอยุ่ในช่วงเข้าพรรษา ไม่ได้ไปจำพรรษาทีไหน ประจวบกับในช่วงเวลานั้น ชาวบ้านที่ขัดสน ข้าวที่เก็บเกี่ยวเอาไว้ในยุ้งฉางก็เริ่มจะหร่อยหรอ การจัดงานตานก๋วยสลากจึงเป็นการฝึกตนให้รู้จักการให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สังเคราะห์คนยากคนจน ก่อนที่จะถึงวันงานตานก๋วยสลาก ทางภาคเหนือจะเรียกว่า วันดา หรือวันสุกดิบ ชาวบ้านจะจัดเตรียมอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ แล้วนำมาจัดใส่ก๋วยสลาก (ชะลอมไม้ไผ่) ที่กรุด้วยใบตอง เมื่อใส่ของลงไปในก๋วยสลากแล้วก็จะมัดปากให้เรียบร้อย จากนั้นก็จะเหลาไม้ไผ่เป็นก้านเล็กๆสำหรับเป็นยอดก๋วยสลาก เอาไว้สำหรับเสียบสตางค์ กล่องไม้ขีดไฟ หรือบุหรี มากน้อยตามฐานะและศรัทธา สมัยก่อนจะนำใบลานมาทำเป็นเส้นสลากแทนกระดาษสำหรับเขียนระบุไปว่า อุทิศตานก๋วยสลากให้กับใคร อาจเป็นบรรพบุรุษ ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อถึงวันถวายตานก๋วยสลาก ก็จะนำตานก๋วยสลากไปรวมกันที่หน้าวิหารที่วัดเพื่อทำพิธีทางศาสนา
หลังจากนั้นก็จะนำเส้นสลากจากญาติโยมมาแจกแบ่งให้กับพระภิกษุแต่ละรูป แล้วอ่านเรียกชื่อเจ้าของสลากนั้น จากนั้นพระภิกษุที่ได้สลากของญาติโยมคนใดก็จะให้ศีลให้พรกับเจ้าของสลาก และกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
สำหรับก๋วยสลากที่ทำกัน แบ่งได้ ๓ แบบ
ก๋วยน้อย ใช้สำหรับอุทิศให้กับบรรพบุรุษ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะเป็นญาติพี่น้อง เป็นมิตรสหาย หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เคยอยู่ด้วยกันมาก็ได้ ทั้งช้าง ม้า วัว ควาย แมว และสุนัข หรือถ้าไม่ได้ถวายทานให้กับใครเป็นพิเศษ ก็สามารถถวายเอาไว้ภายภาคหน้าก็ได้
ส่วน ก๋วยใหญ่ จะเป็นก๋วยที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษ สามารถจุของได้มากกว่า ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่มีฐานะดีที่ต้องการทำบุญอุทิศบุญกุศลไปให้กับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว
สลากโชค จะต่างจากก๋วยสองแบบแรกอย่างชัดเจน สลากโชคจะทำเลียนแบบต้นไม้สูงใหญ่ แล้วนำสิ่งของต่างๆ ไปแขวนไว้บนต้นไม้ เช่น ผ้าห่ม ที่นอน หมอน มุ้ง ถ้วยขาม เครื่องนุ่งหุ่ม อาหารแห้ง และเงินทองประเพณีทำบุญสลากภัตหรือตานก๋วยสลากครั้งแรกในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นตามตำนานที่เล่าสืบๆ กันมาของปู่ย่าตายายถึงนางยักษ์ตนหนึ่งที่เมื่อได้ฟังพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเกิดเสื่อมใสศรัทธา กลับเนื้อกลับตัว ที่เคยใจคอโหดเหี้ยมก็กลายเป็นผู้มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแก่คนทั่วไป จนผู้คนพากันชื่นชมในน้ำใจของนางยักษ์ตนนั้นจนนำสิ่งของต่างๆ มาแบ่งให้เป็นจำนวนมาก นางยักษ์จึงนำข้าวของที่ได้รับมานั้นมาทำสลากภัต แล้วให้พระสงฆ์ สามเณรจับสลาก โดยของที่นำมาทำสลากภัตนั้นมีทั้งของมีค่าราคาแพง และราคาไม่แพง แตกต่างกันไปตามแต่สงฆ์หรือสามเณรรูปใดจะได้ไป
12. ประเพณีปักธงชัย ชาวนครไทย จังหวัดพิษณุโลกมีความเชื่อและศรัทธากับประเพณีหนึ่งที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานและกลายเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวนครไทยที่จะต้องจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ประเพณีที่ว่าคือประเพณีปักธงชัยหรือการแห่ธงขึ้นไปปักบนยอดเขาช้างล้วง ในวันขึ้น ๑๔ – ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ชาวนครไทย เมืองพิษณุโลก ต่างพากันจัดขบวนแห่ธงที่ทอขึ้นเอง ๓ ผืน ขึ้นไปปักยังยอดเขาทั้งสามยอดบนเทือกเขาที่ทอดตัวยาวขนานไปกับถนนหมายเลข ๑๑๔๓ (นครไทย – ชาติตะการ) ซึ่งห่างไปจากอำเภอนครไทยประมาณ ๖ กิโลเมตร ชาวนครไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีปักธงชัยอยู่หลายอย่าง เช่น ความเชื่อที่ว่าการปักธง บ้านเมืองจะร่มเย็นเป็นสุข หากปีไหนไม่ได้ทำ จะเกิดอาเภทกับบ้านเมือง บ้างก็เชื่อว่าการปักธงเป็นการระลึกถึงการประกาศชัยชนะของพ่อขุนบางกลางท่าว หรือความเชื่อที่ว่าการชักธงขึ้นเป็นอาณัติสัญญาณให้มีการเตรียมไพร่พลไว้รับมือกับศัตรูที่เข้ามารุกราน ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับชัยชนะของพ่อขุนบางกลางท่าว ดูจะเป็นความเชื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุด จึงได้ตั้งชื่อประเพณีนี้ว่า ประเพณีปักธงชัยสำหรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันประเพณีปักธงชัยในอดีตนั้น จะเริ่มจากวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ผู้นำหมู่บ้านหรือชุมชนต่างๆ จะออกประกาศบอกเรี่ยไรฝ้ายจากชาวบ้านในชุมชน แล้วนัดกันเอาฝ้ายมารวมเป็นกองกลางที่บ้านของผู้นำหมู่บ้าน ปั่นฝ้าย แล้วนำฝ้ายที่ปั่นได้ไปทอจนได้เป็นผืนธง จำนวน ๓ ผืน กว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ยาว ๔ เมตร ชายธงตกแต่งสวยงามด้วยใบโพธิ์ที่ทำจากไม้ แล้วนำไม้ไผ่ยาว ๑ ฟุต มาใส่หัวท้ายผืนธง ส่วนในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวาน และนิมนต์พระภิกษุขึ้นไปยังเทือกเขาช้างล้วงเพื่อฉันเพลขึ้นที่นั่น หลังจากนั้นจะมีการถวายธงผ้าขาวกับพระภิกษุ และการสวดชัยมงคลคาถา ก่อนที่ชาวบ้านจะนำธงผ้าขาวผูกติดด้ามไม้ไผ่ขึ้นไปปักบนยอดเขาทั้งสามยอด คือ ยอดเขาฉันเพล ยอดเขายั่นไฮ ยอดเขาเขาช้างล้วง หลังเสร็จพิธีก็จะมีการร้องรำทำเพลงด้วยดนตรีพื้นบ้านอย่างสนุกสนานลงมาจากยอดเขา จะเห็นว่าประสงค์สำคัญของประเพณีปักธงชัยนี้ คือ การสร้างความสามัคคี กลมเกลียวกันของคนในชุมชนที่ร่วมแรง ร่วมใจในการปั่นฝ้าย ทอเป็นผืนธง และยังเป็นการแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษที่ได้เสียสละ เอาชีวิตเข้าแลกเพื่อแผ่นดินที่อยู่อาศัย
13. ประเพณีปอยส่างลอง งานประเพณีปอยส่างลอง หรือในอีกชื่อหนึ่ง ประเพณีบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีการบวชเณรให้กับบุตรหลานตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวไทยใหญ่ ที่อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ใช้เวลาว่างศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนเมษายนของทุกปี คำว่า ปอย แปลได้ว่า งาน ส่วนคำว่า ส่าง จะหมายถึง พระหรือเณร และ ลอง แปลว่า ราชา กษัตริย์ หรือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อนำคำ ๓ คำนี้มารวมกัน จะหมายถึง งานบวชพระหรือเณรของเด็กๆ ที่แต่งกายคล้ายราชา ส่วนที่จัดงานในช่วงเดือนมีนาค – เดือนเมษายนของทุกปีก็เพราะว่าเป็นช่วงเวลาหลังเก็บเกี่ยวข้าวในนา ว่างเว้นจากการทำนา ทำไร่ ความเชื่อแรก ว่ากันว่าประเพณีปอยส่างลองเป็นประเพณีเลียนแบบเมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะหนีออกจากเมืองเพื่อออกผนวช ทั้งในเครื่องทรงกษัตริย์พร้อมนายฉันนะ ประเพณีบวชลูกแก้วจึงมีการแต่งองค์ทรงเครื่องให้กับเด็กๆ ผู้ชายให้คล้ายกับเจ้าชาย และมีตะแป หรือพ่อส้าน แม่ส้านคอยรับใช้ดูแลใกล้ชิด คอยแต่งตัว แต่งหน้าให้กับส่างลอง และยอมให้ขี่คอไปไหนต่อไหนได้
สำหรับประเพณีปอยส่างลองนี้กินเวลาในการจัดงานประมาณ ๓ วัน คือ
วันแรก เรียกว่าวันแห่ส่างลอง เด็กชาย (ในวันนี้จะถูกเรียกว่า ส่างลอง) ที่เตรียมตัวจะบวชเณรจะเข้าพิธีโกนผมแต่ไม่โกนคิ้ว (ตามธรรมเนียมของพระพม่าที่จะไม่โกนคิ้ว) มีการแต่งหน้าทาปาก สวมเสื้อผ้าสวยงาม สวมถุงเท้ายาว นุ่งผ้าโสร่งและโพกผ้าตามแบบพม่า ประดับด้วยมวยผมของบรรพบุรุษที่เก็บรักษาไว้ แล้วตกแต่งด้วยดอกไม้ จากนั้นจะนำเด็กชายไปขอขมา และรับศีลรับพรจากญาติผู้ใหญ่
วันแห่ครัวหลู จะเป็นวันที่สอง ในวันนี้จะมีการแห่ส่างลองพร้อมเครื่องไทยทานจากวัดไปตามถนนหนทาง โดยให้ส่างลองขี่ม้าหรือขี่คอพี่เลี้ยงแทน มีกลดทองแบบพม่ากันบังแดดให้ ในช่วงเย็นๆ จะมีพิธีเรียกขวัญส่างลอง กลางคืนมีการแสดงมหรสพสมโภชตามประเพณี
วันที่ ๓ วันข่ามส่าง วันนี้ส่างลองจะเข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งตลอดสามวันที่จัดงาน มีข้อห้ามสำคัญข้อหนึ่งว่า ห้ามให้เท้าของส่างลองแตะพื้นเด็ดขาด ถ้าจะไปไหนให้พ่อ พี่หรือญาติที่เป็นผู้ชายเอาขี่คอแทน และจะมีตะแปหรือคนคอยกางร่มให้ตลอดเวลาอีกด้วย
อีกความเชื่อหนึ่งมาจากเรื่องราวในพุทธประวัติ เมื่อพระเจ้าอาชาตศัตรู โอรสของพระเจ้าพิมพิสารถูกพระเจ้าเทวทัตยุแหย่ให้กักขังพระบิดาของตนเองไว้ ต่อมาเกิดสำนึกผิดต่อสิ่งที่กระทำต่อบิดาของตนเองจึงนำเรื่องกราบทูลต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้คำแนะนำกลับมาว่า ให้นำลูกหลานของตัวเองมาบวชเรียน เพื่อให้โทษหนักผ่อนให้เป็นเบาได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น